Powered By Blogger

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบนิเวศป่าชายเลน


ระบบนิเวศป่าชายเลน

ป่าชายเลนพบทั่วไปตามพื้นที่ชายฝั่งทะเล  บริเวณปากน้ำ  อ่าว  ทะเลสาบและเกาะซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำท่วมถึงของประเทศในแถบโซนร้อน  (Tropical Region) โดยป่าชายเลนในประเทศไทยอยู่กระจัดกระจายตามชายฝั่งยาวประมาณ 927  กิโลปัจจัยทางกายภาพ   ระบบนิเวศป่าชายเลนเกิดจากการผสมผสานระหว่างสภาพแวดล้อมของทะเลและสภาพแวดล้อมของแผ่นดิน

พื้นที่และการกระจายของป่าชายเลนจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยของสิ่งแวดล้อมหลายอย่างที่สำคัญได้แก่  สภาพภูมิอากาศ  สภาพดินและน้ำ
  ภูมิอากาศ  โดยทั่วไปแล้วพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต้องกาอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า  20 OC  เล็กน้อยและมีความแตกต่างของอากาศในแต่ละฤดูไม่มากกว่า  5  OC  โดยอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของไม้ในป่าชายเลนจะอยู่ระหว่าง  25-30 OC  ป่าชายเลนสามารถขึ้นในบริเวณพื้นที่ริมฝั่งของภูมิภาคเขตร้อนที่มีปริมาณฝนและความชื้นน้อยไปจนถึงบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนมาก 
แต่ป่าชายเลนในบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนและความชื้นมาก  จะมีพัฒนาการเจริญเติบโตได้ดีกว่า  สำหรับประเทศไทยนั้นป่าชายเลนที่พัฒนาดีที่สุดคือ ป่าชายเลนระยอง

  ดิน  ในพื้นที่ป่าชายเลนเกิดขึ้นจากการทับถมของดินตะกอนในแม่น้ำที่ไหลลงสู่บริเวณที่มีน้ำนิ่งซึ่งดินตะกอนจะทับถมกันในสภาพธรรมชาติ 
จึงมีปริมาณเกลือสูง  และปริมาณอินทรียวัตถุสูง

  น้ำ  ความเค็มของน้ำในป่าชายเลนของประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีความเค็มของน้ำระหว่าง 10-30 ส่วนในพันส่วนเมตร  ในเขตชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก  ภาคกลาง  และภาคใต้
ปัจจัยทางชีวภาพ
พืชพันธุ์ในพื้นที่ป่าชายเลนจะมีลักษณะ  ดังนี้
   - เป็นป่าที่มีความเขียวสดตลอดปี 
 - ไม่มีการแบ่งชั้นของเรือนยอด  (Canopy)  อย่างชัดเจน

    ชนิดของพืชพันธุ์ต่าง ๆ  จะมีความสัมพันธ์กัลป์ปบลักษณะของพื้นที่  ดังนี้
บริเวณช่วงต่อระหว่างป่าชายเลนกับแผ่นดินพืชที่พบในน้ำและบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ  จะพบต้นจาก  ส่วนพืชบกจะพบ  โพธิ์ทะเล  โปรง  ตะบูน  พังกา  หัวสุม  และประทะเล
บริเวณพื้นที่ตอนบนของป่าชายเลน  พืชที่พบบริเวณนี้  ได้แก่  โกงกางใบเล็ก  โกงกางใบใหญ่  โดยมีแสมดำและแสมขาวขึ้นปะปนกันอยู่  นอกจากนี้ยังมี  ลำพู  เหงือกปลาหมอและถอบแถบ
บริเวณตอนล่างของป่าชายเลน  พืชที่พบในบริเวณนี้ได้แก่  แสมดำ  แสมขาว  โกงกางใบเล็กโกงกางใบใหญ่ขึ้นปะปนกันอยู่
บริเวณช่วงต่อระหว่างป่าชายเลนกับทะเล  พืชที่พบในบริเวณนี้ส่วนใหญ่คือ  แสม  แต่บางแห่งจะพบโกงกาง
ชนิดของสัตว์น้ำและสัตว์บกมีตั้งแต่  จุลินทรีย์  (microorganism)  เช่น  แบคทีเรีย  รา  โปรโตซัว  พวกสัตว์เล็ก  จนถึงสัตว์ใหญ่  เช่น  กุ้ง  หอย  ปู  ปลา  งู  นก  ลิง  เป็นต้น 
สำหรับพวกจุลินทรีย์ต่าง ๆ  เป็นส่วนสำคัญในการกำเนิดห่วงโซ่อาหาร
มีรายงานการสำรวจพบว่า  บริเวณป่าชายเลนนั้นมีปลาชนิดต่าง ๆ  รวมกันประมาณ  72  ชนิดที่สำคัญและมีชนิดที่พบได้มาก  ได้แก่  ปลากระบอก  ปลากะพงขาว  และปลานวลจันทร์ทะเล  เป็นต้น 
สำหรับกุ้งที่มีคุณค่าทางอาหารสูงที่พบในป่าชายเลน  เช่น  กุ้งแชบ๊วย  กุ้งตะกาด  กุ้งกุลาดำหรือกุ้งตะเข็บ  กุ้งหัวมัน 
ปูที่พบในป่าชายเลนมี 54 ชนิดที่สำคัญ  ปูเปรี้ยวหรือปูก้ามดาบหรือปูผู้แทน (Veatorcipata)  ปูแสม (Sesarma  mederi)  ปูทะเลหรือปูดำ
หอยมีทั้งชนิดที่เกาะอยู่กับต้นไม้  รากและใบของไม้ในป่าชายเลน  รวมถึงชนิดที่ชอบฝังตัวอยู่ในดินเลนหรือตามพื้นป่า
แมลง  ที่อาศัยอยู่ตามป่าชายเลนมีจำนวน  38  ชนิด  ชนิดที่พบมาก  ได้แก่  ผีเสื้อ  หนอนคืบ  หนอนผีเสื้อขัดใบ  ด้วงหนวดยาว  ยุง  ริ้น  เป็นต้น
สัตว์อื่น ๆ ที่พบมาก  ได้แก่ 
   - นก  มีทั้งหมดประมาณ  88  ชนิด
   - สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประมาณ 35 ชนิด  เช่น  ค้างคาว  ลิงแสม  นาก  แมวป่า
   - สัตว์เลื้อยคลานประมาณ  25  ชนิด  ซึ่งรวมทั้งงูชนิดต่าง ๆ  กิ้งก่า  เต่า  จระเข้  ซึ่งสัตว์เหล่านี้หากินและมีชีวิตเกี่ยวข้องอยู่กับป่าชายเลน 
คุณค่าและความสำคัญในระบบนิเวศป่าชายเลน
 ด้านป่าไม้  ไม้จากป่าชายเลนได้นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง  เช่น ทำฟืนหรือถ่าน
   - ใช้ในการก่อสร้าง  เช่น  ทำเสาเข็ม  ไม้ค้ำยัน
   - ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์
   - ใบจากมุงหลังคาและมวนบุหรี่
   - ด้านประมง  เป็นแหล่งที่วางไข่และอนุบาลตัวอ่อน  เป็นแหล่งที่อยู่และที่หลบภัยของปลาต่าง ๆ
   - ความสำคัญของด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเล
   - เป็นสถานที่หลบภัยตามธรรมชาติ
   - ป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ  โดยทำหน้าที่กรองสารปฏิกูล
 ด้านยารักษาโรค  เช่น
   - เปลือกไม้โกงกางใบเล็ก  สามารถนำมาต้มกินแก้ท้องร่วง
   - ต้นและรากของต้นเหงือกปลาหมอดอกน้ำเงิน  นำมาต้นน้ำผสมน้ำอาบ  แก้ผดผื่นคัน  โรคผิวหนัง
   - เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น