Powered By Blogger

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

พืชในป่าชายเลน-ตีนเป็ดทะเล

ตีนเป็ดทะเล

ชื่อพฤกษศาสตร์: Cerbera odollam Gaertn.
ชื่อพื้นเมือง: ตีนเป็ดทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ตีนเป็ด
วงศ์ APOCYNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6 - 12 เมตร มักแตกกิ่งต่ำ เรือนยอดแผ่กว้าง ราก เป็นระบบรากแก้ว หยั่งดินลึก ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำจุน ลำต้น แข็งตั้งตรง มีเนื้อไม้ เปลือกชั้นนอกเรียบมีช่องอากาศกระจายทั่วไป สีเทา เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน มียางสีขาว ใบ ใบเดี่ยว ใบยาวเป็นกระจุก อยู่บนส่วนยอด เรียงเวียนรอบกิ่ง แผ่นใบรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ ขนาด 4 - 8 X 15 - 30 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ฐานใบสอบแคบเข้าหาก้านใบ เส้นใบตั้งฉากกับเส้นกลางใบ มี 20 - 30 คู่ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ก้านใบยาว 2 - 3 เซนติเมตร ดอก สมบูรณ์เพศ ออกที่ปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุก ดอกสมมาตรด้านข้าง มีกลีบเลี้ยงรูปใบหอก สีเขียวหรือขาวแกมเขียวอ่อน แต่จะร่วงหล่นไปในระยะยังเป็นดอก กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร ยาว 1.5 - 2 เซนติเมตร ปลายหลอดแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกยาวกว่าหลอด วงกลีบดอกสีขาว ตรงกลางดอกสีเหลือง เกสรเพศผู้ มี 4 - 5 อัน อยู่แยกกัน ก้านเกสรสั้นติดอยู่ที่คอหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่ 2 อัน เป็นแบบรังไข่เหนือวงกลีบ อยู่แยกกันหรืออาจติดกันเล็กน้อยเฉพาะส่วนฐาน แต่ก้านเกสร และยอดเกสรจะติดกัน มีเม็ดไข่มาก ผล เป็นผลเดี่ยว รูปกระสวย ค่อนข้างกลม ขนาด 6 X 7 เซนติเมตร มีสองพูตื้นๆ ผิวผลเกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน เมื่อแก่จัดสีเขียว อมม่วงถึงม่วงเข้ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น