Powered By Blogger

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

พืชในป่าชายเลน-ตะบูนดำ

ตะบูนดำ


ชื่อพฤกษศาสตร์: Xylocarpus moluccensis
(Lam.) M.Roem.
ชื่อพื้นเมือง: ตะบูนดำ
ชื่อท้องถิ่น: ตะบัน
วงศ์ MELIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 10 - 15 เมตร ไม้ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายกรวยคว่ำ กลม หรือ แบน ปลายมน ยาว 20 - 40 เซนติเมตร โผล่ขึ้นจากผิวดินรอบโคนต้น ลำต้น เปลาตรง เนื้อไม้แข็ง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกขรุขระแตกเป็นร่องตามยาว ต้นแก่เปลือกสามารถลอกเป็นแถบแคบๆ เปลือกหนาสีน้ำตาลเข้ม หรือ แดงดำ เนื้อไม้สีน้ำตาล ใบ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายใบคู่ ไม่มีใบยอด เรียงสลับ ใบย่อย 1 - 3 คู่ เรียงตรงข้าม แผ่นใบรี รูปใบพาย หรือ รูปขอบขนานแกมรี ขนาด 2 - 4 X 5 - 7 เซนติเมตร โคนใบกลมมน ปลายใบมน ฐานใบแหลม ผิวใบเป็นมัน สีเขียวเข้ม และเปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองทั้งต้นก่อนร่วง ดอก ออกตามง่ามใบ แบบช่อแยกแขนง ช่อดอกยาว 7 - 17 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ แต่ละกลีบยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร กลีบดอก 4 กลีบไม่ติดกัน รูปขอบขนาน ยาว 0.4 - 0.8 เซนติเมตร สีขาวครีม เกสรเพศผู้ 8 อัน กลิ่นหอมเวลาเย็นถึงค่ำ ผล ค่อนข้างกลมผิวเรียบมีร่องเล็กน้อย สีเขียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 - 6 เซนติเมตร แต่ละผลมี 4 พู มี 7 - 11 เมล็ด ลักษณะโค้งนูนหนึ่งด้าน กว้าง 4 - 6 เซนติเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น