Powered By Blogger

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

พืชในป่าชายเลน-สารภีทะเล

สารภีทะเล


ชื่อพฤกษศาสตร์: Calophyllum inophyllum L.
ชื่อพื้นเมือง: สารภีทะเล
ชื่อท้องถิ่น: กระทิง
วงศ์ CLUSIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย ไม้ต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง 5 - 7 เมตร ไม่ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว รากหยั่งดินลึก ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำจุน ลำต้น ไม่มีพูพอน กิ่งค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปลือกมีรอยแตกเป็นร่องลึก สีน้ำตาลถึงสีเทาค่อนข้างเข้ม มีน้ำยางเหนียว สีขาวอมเหลือง ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี รูปไข่ รูปไข่กลับ หรือ รูปขอบขนาน ขนาด 4 - 10 X 8 - 17 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่มถึงกลม เป็นครีบที่โคน ขอบใบเรียบเป็นคลื่นยาว ปลายใบกลมถึงเว้าบุ๋ม หรือ แหลมเล็กน้อย เนื้อใบหนาคล้ายหนัง เส้นใบมีจำนวนมากเรียงชิด และขนานกัน ก้านใบยาว 1 - 2.8 เซนติเมตร ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบน สีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบสีจางกว่า ดอก สมบูรณ์เพศ ออกตามง่ามใบ เป็นช่อกระจะ ช่อดอกยาว 10 - 16 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 5 - 15 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร กลีบรวม 8 กลีบ เรียงซ้อนเป็นสองชั้น ชั้นนอก 2 คู่ เรียงตรงข้างสลับตั้งฉากกัน ชั้นใน 4 กลีบ เรียงเป็นวงซ้อนเหลื่อมกัน สีขาว เกสรเพศผู้มีจำนวนไม่แน่นอน โคนก้านติดกัน เกสรตัวเมียรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ยอดเกสรแยกเป็นแฉกเท่าจำนวนห้องในรังไข่ ผล เมล็ดเดียว รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 - 4 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวเป็นมัน ผลแก่สีน้ำตาลอมเขียว มีรอยย่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น