Powered By Blogger

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ป่าชายเลน



       ป่าชายเลน (Mangrove forest) คือ ระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หลายชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงพบป่าชายเลนปรากฏอยู่ทั่วไปตามบริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ ทะเลสาบ และ รอบเกาะแก่งต่างๆ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล พันธุ์ไม้ที่มีมากและมีบทบาทสำคัญที่สุดในป่าชายเลน คือ ไม้โกงกาง ป่าชายเลนจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ป่าโกงกาง

ความสำคัญและประโยชน์ของป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของชายฝั่งทะเลและนับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า มหาศาลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ

ป่าชายเลนเป็นแหล่งพลังงาน และแหล่งวัตถุดิบไม้ใช้สอยและก่อสร้างในครัวเรือน
แหล่งพลังงานที่สำคัญในป่าชายเลนได้มาจากถ่าน ไม้ป่าชายเลนที่นิยมนำมาเผาถ่านคือ ไม้ โกงกาง เพราะติดไฟทนทาน ไม่มีควัน ไม่ปะทุแตกไฟ ได้ก้อนถ่านสวยงาม ขายได้ราคาดี ปัจจุบัน ถ่านไม้โกงกางที่มีชื่อเสียง คือถ่านไม้โกงกางบ้านยี่สาร จ.สมุทรสงคราม นอกจากนี้ไม้ป่าชายเลนมีประโยชน์ใช้สอยและก่อสร้าง เช่น ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้ ก่อสร้าง แพปลา อุปกรณ์การประมง เฟอร์นิเจอร์ ไม้หลายชนิดนำมาสกัดจะได้แทนนิน ใช้ทำน้ำ หมึก ทำสี ทำกาว ย้อมอวน ฟอกหนัง เป็นต้น

ป่าชายเลนเป็นแหล่งพืชผักและพืชสมุนไพร
พืชในป่าชายเลนสามารถนำมาใช้เป็นผักพื้นบ้านจำนวน หลายชนิด เช่น ใบชะคราม ยอดเป้ง ยอดผักเบี้ยทะเล ต้นจากก็เป็นพืชป่าชายเลนอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำส่วนต่างๆ มาใช้ ประโยชน์ได้ คือ ใบนำมาทำเป็นตับมุงหลังคา ใบอ่อนสามารถนำมามวนบุหรี่ได้ น้ำจากยอดอ่อน นำมาทำน้ำตาลจากรสชาติดี ผลใช้กินเป็นของหวาน พืชในป่าชายเลนหลายชนิดนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้ เช่น เหงือกปลาหมอ มะนาวผี ใช้ รักษาโรคผิวหนัง ผลของตะบูนขาวใช้รักษาโรคบิดและโรคท้องร่วงได้ รากตาตุ่มทะเลใช้แก้อักเสบ แก้ไข้ แก้คัน เป็นต้น

ป่าชายเลนเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ
เศษซากพืชหรือเศษไม้ใบไม้และส่วนต่างๆ ของไม้ป่าชายเลนที่ร่วงหล่นลงมา จะถูกย่อย สลายกลายอินทรียวัตถุ กระบวนการย่อยสลายของอินทรียวัตถุเหล่านี้จะทำให้เกิดสารอินทรีย์ที่ ละลายน้ำ เช่น กรดอะมิโน ซึ่งสาหร่ายและจุลินทรีย์ต่างๆ จะสามารถใช้เป็นอาหารได้ และ จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนต่อไป

ป่าชายเลนเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นที่หลบภัยและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ นานาชนิด
สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิดได้ใช้ป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัย และอนุบาลตัว อ่อนในบางช่วงของวงจรชีวิตของมัน เช่น ปลากะพงขาว ปลานวลจันทร์ทะเล ปลากระบอก ปลา เก๋า กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย หอยดำ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยกะพง ปูแสม ปูม้า แต่สัตว์น้ำบางชนิดอาจใช้ป่าชายเลนเป็นทั้งแหล่งเกิดและอาศัยจนเติบโตสืบพันธุ์ เช่นปูทะเล

ป่าชายเลนช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่งและใกล้เคียงโดยเฉพาะหญ้า ทะเลและปะการัง
ป่าชายเลนมีบทบาทในการรักษาสมดุลของธาตุอาหารและความอุดมสมบูรณ์ของน้ำ ทะเลชายฝั่งซึ่งจะส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง

ป่าชายเลนช่วยป้องกันดินพังทลายชายฝั่งทะเล
รากของต้นไม้ในป่าชายเลน นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแล้ว ยังช่วย บรรเทาความเร็วจากกระแสน้ำลง ทำให้ทำให้ตะกอนที่แขวนลอยมากับน้ำทับถมเกิดเป็นแผ่นดิน งอกใหม่ เมื่อระยะเวลานาน ก็จะขยายออกไปในทะเลเกิดเป็นหาดเลน อันเหมาะสมแก่การเกิด ของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต่อไป

ป่าชายเลนเป็นพื้นที่สำหรับดูดซับสิ่งปฏิกูลต่างๆ
รากของต้นไม้ในป่าชายเลนที่งอกออกมาเหนือพื้นดิน จะทำหน้าที่คล้ายตะแกรงธรรมชาติ คอยดักกรองสิ่งปฏิกูลต่างๆ และสารมลพิษต่างๆ จากบนบกไม่ให้ลงสู่ทะเล โลหะหนักหลายชนิด เมื่อถูกพัดพามาตามกระแสน้ำ ก็จะตกตะกอนลงที่บริเวณดินเลนในป่าชายเลน นอกจากนั้นขยะ และคราบน้ำมันต่างๆ ก็จะถูกดักกรองไว้ในป่าชายเลนเช่นกัน

ป่าชายเลนช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งจากภัย ธรรมชาติ
ป่าชายเลนทำหน้าที่เหมือนปราการ ช่วยบรรเทาความรุนแรงของคลื่นและลมให้ลด น้อยลง เมื่อเทียบกับบริเวณที่ไม่มีป่าชายเลน

ป่าชายเลนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและแหล่งศึกษาธรรมชาติ
ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง เพราะเป็นแหล่งที่อุดมไป ด้วยพรรณไม้นานา ที่มี ใบ ดอกและผลสวยงาม แปลกตา อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่มีทั้งสัตว์น้ำและ สัตว์บกโดยเฉพาะนกชนิดต่างๆ อาศัยอยู่มากมาย ทำให้ป่าชายเลนเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งศึกษาหาความรู้ที่สำคัญยิ่ง

ป่าชายเลนช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
ไม้ในป่าชายเลนมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงจึงช่วยลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มปริมาณออกซิเจน ทำให้อากาศสดชื่น

ระบบนิเวศป่าชายเลน


ระบบนิเวศป่าชายเลน

ป่าชายเลนพบทั่วไปตามพื้นที่ชายฝั่งทะเล  บริเวณปากน้ำ  อ่าว  ทะเลสาบและเกาะซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำท่วมถึงของประเทศในแถบโซนร้อน  (Tropical Region) โดยป่าชายเลนในประเทศไทยอยู่กระจัดกระจายตามชายฝั่งยาวประมาณ 927  กิโลปัจจัยทางกายภาพ   ระบบนิเวศป่าชายเลนเกิดจากการผสมผสานระหว่างสภาพแวดล้อมของทะเลและสภาพแวดล้อมของแผ่นดิน

พื้นที่และการกระจายของป่าชายเลนจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยของสิ่งแวดล้อมหลายอย่างที่สำคัญได้แก่  สภาพภูมิอากาศ  สภาพดินและน้ำ
  ภูมิอากาศ  โดยทั่วไปแล้วพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต้องกาอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า  20 OC  เล็กน้อยและมีความแตกต่างของอากาศในแต่ละฤดูไม่มากกว่า  5  OC  โดยอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของไม้ในป่าชายเลนจะอยู่ระหว่าง  25-30 OC  ป่าชายเลนสามารถขึ้นในบริเวณพื้นที่ริมฝั่งของภูมิภาคเขตร้อนที่มีปริมาณฝนและความชื้นน้อยไปจนถึงบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนมาก 
แต่ป่าชายเลนในบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนและความชื้นมาก  จะมีพัฒนาการเจริญเติบโตได้ดีกว่า  สำหรับประเทศไทยนั้นป่าชายเลนที่พัฒนาดีที่สุดคือ ป่าชายเลนระยอง

  ดิน  ในพื้นที่ป่าชายเลนเกิดขึ้นจากการทับถมของดินตะกอนในแม่น้ำที่ไหลลงสู่บริเวณที่มีน้ำนิ่งซึ่งดินตะกอนจะทับถมกันในสภาพธรรมชาติ 
จึงมีปริมาณเกลือสูง  และปริมาณอินทรียวัตถุสูง

  น้ำ  ความเค็มของน้ำในป่าชายเลนของประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีความเค็มของน้ำระหว่าง 10-30 ส่วนในพันส่วนเมตร  ในเขตชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก  ภาคกลาง  และภาคใต้
ปัจจัยทางชีวภาพ
พืชพันธุ์ในพื้นที่ป่าชายเลนจะมีลักษณะ  ดังนี้
   - เป็นป่าที่มีความเขียวสดตลอดปี 
 - ไม่มีการแบ่งชั้นของเรือนยอด  (Canopy)  อย่างชัดเจน

    ชนิดของพืชพันธุ์ต่าง ๆ  จะมีความสัมพันธ์กัลป์ปบลักษณะของพื้นที่  ดังนี้
บริเวณช่วงต่อระหว่างป่าชายเลนกับแผ่นดินพืชที่พบในน้ำและบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ  จะพบต้นจาก  ส่วนพืชบกจะพบ  โพธิ์ทะเล  โปรง  ตะบูน  พังกา  หัวสุม  และประทะเล
บริเวณพื้นที่ตอนบนของป่าชายเลน  พืชที่พบบริเวณนี้  ได้แก่  โกงกางใบเล็ก  โกงกางใบใหญ่  โดยมีแสมดำและแสมขาวขึ้นปะปนกันอยู่  นอกจากนี้ยังมี  ลำพู  เหงือกปลาหมอและถอบแถบ
บริเวณตอนล่างของป่าชายเลน  พืชที่พบในบริเวณนี้ได้แก่  แสมดำ  แสมขาว  โกงกางใบเล็กโกงกางใบใหญ่ขึ้นปะปนกันอยู่
บริเวณช่วงต่อระหว่างป่าชายเลนกับทะเล  พืชที่พบในบริเวณนี้ส่วนใหญ่คือ  แสม  แต่บางแห่งจะพบโกงกาง
ชนิดของสัตว์น้ำและสัตว์บกมีตั้งแต่  จุลินทรีย์  (microorganism)  เช่น  แบคทีเรีย  รา  โปรโตซัว  พวกสัตว์เล็ก  จนถึงสัตว์ใหญ่  เช่น  กุ้ง  หอย  ปู  ปลา  งู  นก  ลิง  เป็นต้น 
สำหรับพวกจุลินทรีย์ต่าง ๆ  เป็นส่วนสำคัญในการกำเนิดห่วงโซ่อาหาร
มีรายงานการสำรวจพบว่า  บริเวณป่าชายเลนนั้นมีปลาชนิดต่าง ๆ  รวมกันประมาณ  72  ชนิดที่สำคัญและมีชนิดที่พบได้มาก  ได้แก่  ปลากระบอก  ปลากะพงขาว  และปลานวลจันทร์ทะเล  เป็นต้น 
สำหรับกุ้งที่มีคุณค่าทางอาหารสูงที่พบในป่าชายเลน  เช่น  กุ้งแชบ๊วย  กุ้งตะกาด  กุ้งกุลาดำหรือกุ้งตะเข็บ  กุ้งหัวมัน 
ปูที่พบในป่าชายเลนมี 54 ชนิดที่สำคัญ  ปูเปรี้ยวหรือปูก้ามดาบหรือปูผู้แทน (Veatorcipata)  ปูแสม (Sesarma  mederi)  ปูทะเลหรือปูดำ
หอยมีทั้งชนิดที่เกาะอยู่กับต้นไม้  รากและใบของไม้ในป่าชายเลน  รวมถึงชนิดที่ชอบฝังตัวอยู่ในดินเลนหรือตามพื้นป่า
แมลง  ที่อาศัยอยู่ตามป่าชายเลนมีจำนวน  38  ชนิด  ชนิดที่พบมาก  ได้แก่  ผีเสื้อ  หนอนคืบ  หนอนผีเสื้อขัดใบ  ด้วงหนวดยาว  ยุง  ริ้น  เป็นต้น
สัตว์อื่น ๆ ที่พบมาก  ได้แก่ 
   - นก  มีทั้งหมดประมาณ  88  ชนิด
   - สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประมาณ 35 ชนิด  เช่น  ค้างคาว  ลิงแสม  นาก  แมวป่า
   - สัตว์เลื้อยคลานประมาณ  25  ชนิด  ซึ่งรวมทั้งงูชนิดต่าง ๆ  กิ้งก่า  เต่า  จระเข้  ซึ่งสัตว์เหล่านี้หากินและมีชีวิตเกี่ยวข้องอยู่กับป่าชายเลน 
คุณค่าและความสำคัญในระบบนิเวศป่าชายเลน
 ด้านป่าไม้  ไม้จากป่าชายเลนได้นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง  เช่น ทำฟืนหรือถ่าน
   - ใช้ในการก่อสร้าง  เช่น  ทำเสาเข็ม  ไม้ค้ำยัน
   - ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์
   - ใบจากมุงหลังคาและมวนบุหรี่
   - ด้านประมง  เป็นแหล่งที่วางไข่และอนุบาลตัวอ่อน  เป็นแหล่งที่อยู่และที่หลบภัยของปลาต่าง ๆ
   - ความสำคัญของด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเล
   - เป็นสถานที่หลบภัยตามธรรมชาติ
   - ป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ  โดยทำหน้าที่กรองสารปฏิกูล
 ด้านยารักษาโรค  เช่น
   - เปลือกไม้โกงกางใบเล็ก  สามารถนำมาต้มกินแก้ท้องร่วง
   - ต้นและรากของต้นเหงือกปลาหมอดอกน้ำเงิน  นำมาต้นน้ำผสมน้ำอาบ  แก้ผดผื่นคัน  โรคผิวหนัง
   - เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ

ปัญหาและผลกระทบต่อป่าชายเลน

ปัญหา
 พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างต่อเนื่องเกิดจากสาเหตุหลายประการร่วมกัน ที่สำคัญคือ การ ขยายตัวของประชากร ทำให้มีการพัฒนากิจกรรมต่างๆ มากมาย ที่สำคัญคือ การประมงและการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ โดยเฉพาะการทำนากุ้ง การทำเหมืองแร่ การเกษตรกรรม การขยายตัวของแหล่งชุมชน การสร้าง ท่าเทียบเรือ การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การอุตสาหกรรมและโรงงานไฟฟ้า การขุดลอกร่องน้ำ การทำนา เกลือ การตัดไม้เกินกำลังการผลิตของป่า และกิจกรรมอื่น

สาเหตุ 
หลายกิจกรรมเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าชายเลนเป็นเพราะเห็นว่าการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชาย เลน ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการประกอบการ เพราะป่าชายเลนเป็นพื้นที่ป่าสงวนมีกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับไม่รัดกุม ทำให้มีผู้บุกรุกจำนวนมาก และการจับกุมทำได้ไม่ทั่วถึง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ สืบเนื่องมาจาก ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าชายเลนยังไม่เพียงพอและยังไม่ถูกต้องนักในกลุ่มบุคคลระดับต่างๆ ทำให้ไม่ เห็นความสำคัญของป่าชายเลน เป็นผลให้การใช้ประโยชน์ป่าชายเลนเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม

ผลกระทบ
 การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลน หลายประการ เช่น อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น ปริมาณธาตุอาหารลดลง ความเค็มเพิ่มขึ้น น้ำขุ่นข้น มีปริมาณสารพิษ ในน้ำ เกิดการพังทลายของดิน มีการเปลี่ยนแปลงชนิด ปริมาณและลักษณะโครงสร้างของพืชและสัตว์น้ำ ที่ สำคัญคือมีผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศในป่าชายเลนและระบบนิเวศอื่นในบริเวณชายฝั่งและ ใกล้เคียงป่าชายเลน ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจและประชาชนและของประเทศโดยรวม และยากที่จะ ฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์เหมือนเดิมได้แม้จะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล
ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจากรมป่าไม้เมื่อปี  2543  แสดงให้เห็นว่า  ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลน  1,526,006.25  ไร่  เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อปี  2539  จำนวน  478,616.25  ไร่  ทั้งที่น่าสังเกตว่า  ในการสำรวจครั้งนี้ได้เพิ่มนราธิวาสเป็นจังหวัดที่ 24  ทีมีพื้นที่ป่าชายเลนด้วยจำนวน  473.5  ไร่  หลังจากที่ตกสำรวจมาเป็นเวลานาน  ขณะเดียวกันการสำรวจครั้งนี้กลับไม่แสดงพื้นที่ป่าชายเลนของจังหวัดสมุทรปราการ  ซึ่งเคยมีจำนวน  1,857.50  ไร่  ในการสำรวจเมื่อปี  2539 
    โดยภาพรวมป่าชายเลนของไทยนับว่าตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม  อันเป็นภาวะที่ต่อเนื่องมานับ 40 ปี  ดังที่ตัวเลขแสดงให้เห็นชัดเจนว่าภายในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่ป่าชายเลนได้สูญหายไปถึงประมาณ 1 ล้านไร่


พืชในป่าชายเลน-ตะบูนดำ

ตะบูนดำ


ชื่อพฤกษศาสตร์: Xylocarpus moluccensis
(Lam.) M.Roem.
ชื่อพื้นเมือง: ตะบูนดำ
ชื่อท้องถิ่น: ตะบัน
วงศ์ MELIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 10 - 15 เมตร ไม้ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายกรวยคว่ำ กลม หรือ แบน ปลายมน ยาว 20 - 40 เซนติเมตร โผล่ขึ้นจากผิวดินรอบโคนต้น ลำต้น เปลาตรง เนื้อไม้แข็ง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกขรุขระแตกเป็นร่องตามยาว ต้นแก่เปลือกสามารถลอกเป็นแถบแคบๆ เปลือกหนาสีน้ำตาลเข้ม หรือ แดงดำ เนื้อไม้สีน้ำตาล ใบ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายใบคู่ ไม่มีใบยอด เรียงสลับ ใบย่อย 1 - 3 คู่ เรียงตรงข้าม แผ่นใบรี รูปใบพาย หรือ รูปขอบขนานแกมรี ขนาด 2 - 4 X 5 - 7 เซนติเมตร โคนใบกลมมน ปลายใบมน ฐานใบแหลม ผิวใบเป็นมัน สีเขียวเข้ม และเปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองทั้งต้นก่อนร่วง ดอก ออกตามง่ามใบ แบบช่อแยกแขนง ช่อดอกยาว 7 - 17 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ แต่ละกลีบยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร กลีบดอก 4 กลีบไม่ติดกัน รูปขอบขนาน ยาว 0.4 - 0.8 เซนติเมตร สีขาวครีม เกสรเพศผู้ 8 อัน กลิ่นหอมเวลาเย็นถึงค่ำ ผล ค่อนข้างกลมผิวเรียบมีร่องเล็กน้อย สีเขียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 - 6 เซนติเมตร แต่ละผลมี 4 พู มี 7 - 11 เมล็ด ลักษณะโค้งนูนหนึ่งด้าน กว้าง 4 - 6 เซนติเมตร

พืชในป่าชายเลน-ตะบูนขาว

ตะบูนขาว

ชื่อพฤกษศาสตร์: Xylocarpus granatum Koenig
ชื่อพื้นเมือง: ตะบูนขาว
ชื่อท้องถิ่น: กะบูน
วงศ์ MELIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 8 - 15 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจ หรือ รากค้ำจุน ลักษณะแบนคล้ายแผ่นกระดานบ้าง กลมบ้าง ทอดตัวในแนวรัศมีรอบลำต้น ลำต้น ลำต้นสั้น ตรง เนื้อไม้แข็ง แตกกิ่งใกล้โคนต้น มีพูพอนแผ่ออกคดเคี้ยว ต่อเนื่องกับรากหายใจ เปลือกเรียบบาง สีเหลืองแกมเขียวอ่อน หรือ สีน้ำตาลอ่อนมีสีขาวปะปนลักษณะคล้ายเปลือกต้นฝรั่ง หรือ ต้นตะแบก เปลือกหลุดออกเป็นแผ่นรูปทรงไม่แน่นอน ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ หรือ รูปใบพายปลายมน ชั้นเดียว ไม่มีใบยอด เรียงสลับ ใบย่อยมีก้านเห็นชัดไม่เบี้ยวมี 1 - 2 คู่ เรียงตรงข้าม หรือ เยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปไข่กลับ หรือ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ขนาด 2 - 5 X 7 - 14 เซนติเมตร แผ่นใบสมมาตรกัน ปลายใบมักจะทู่ หรือ กลม ฐานใบรูปลิ่ม ใบหนามัน ดอก ไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อที่ง่ามใบ ตามปลายกิ่ง ช่อดอกแบบ ช่อแยกแขนง ยาว 3 - 6 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 8 - 20 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 1.2 เซนติเมตร ก้านดอกย่อย ยาว 0.4 - 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร กลีบดอก 4 กลีบ ไม่ติดกัน มีสีขาวครีม เกสรเพศผู้ 8 อัน ดอกมีกลิ่นหอมเย็นเวลาบ่ายถึงกลางคืน ผล ลักษณะกลมแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 - 15 เซนติเมตร แบ่งเป็น 4 พู เท่าๆกัน แต่ละผล มี 4 - 17 เมล็ด ลักษณะโค้งนูนหนึ่งด้าน กว้าง 6 - 10 เซนติเมตร ผลแก่ หรือ สุกสีน้ำตาลแดงคล้ายผลทับทิม หรือ ผลส้ม


พืชในป่าชายเลน-หวายลิง

หวายลิง


ชื่อพฤกษศาสตร์: Flagellaria indica L.
ชื่อพื้นเมือง: หวายลิง
ชื่อท้องถิ่น: หวายลิง
วงศ์ FLAGELLARIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งยาว 3 - 5 เมตร หรือ บางต้นยาวได้ถึง 10 เมตร ราก ระบบรากฝอย ลำต้น แข็งคล้ายหวาย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3 - 0.8 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว แต่เมื่อลำต้นแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบ เรียวยาว รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาด 0.5 - 2 X 7.5 - 20 เซนติเมตร ฐานใบกว้าง มีกาบใบหุ้มรอบลำต้น เรียงเวียนซ้อนทับกันเป็นระยะคล้ายกาบหวาย ไม่มีหนาม ปลายใบเรียวยาว ม้วนงอ และแข็ง ทำหน้าที่เกาะไม้อื่น เพื่อพยุงลำต้นให้เลื้อยทอดสูงขึ้น ดอก สมบูรณ์เพศ เป็นช่อแยกแขนง สั้นๆที่ปลายกิ่ง ขนาดเล็ก แต่ละช่อประกอบด้วยดอกจำนวนมาก สีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ปลายผลมีติ่งแหลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่จัดจะเป็นสีชมพูอมแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ผลมี 1 เมล็ด

พืชในป่าชายเลน-ตาตุ่มทะเล

ตาตุ่มทะเล


ชื่อพฤกษศาสตร์: Excoecaria agallocha L.
ชื่อพื้นเมือง: ตาตุ่มทะเล
ชื่อท้องถิ่น: ตาตุ่ม
วงศ์ EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก - ขนาดกลาง ต้นแยกเพศ สูง 5 - 10 เมตร ผลัดใบในฤดูแล้ง ราก ระบบรากแก้ว ไม่พบทั้งรากหายใจและรากค้ำจุน ลำต้น ลักษณะต้นส่วนมากตรง เป็นตุ่มเป็นตา ปุ่มกระจายทั่วลำต้น มักแตกกิ่งในระดับต่ำ บางครั้งดูคล้ายไม้พุ่ม เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมเทา เมื่อหักหรือทำให้เป็นแผล มียางสีขาวไหลออกมามาก ใบ ใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ รูปรี หรือ รูปไข่แกมรีถึงรูปไข่กลับ ขนาด 2 - 5 X 4 - 9 เซนติเมตร ฐานใบมน ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลมมน ก้านใบเรียวยาว 1 - 2 เซนติเมตร ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบแก่จัดใกล้ร่วง จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเหลืองทั้งต้น ดอก แยกเพศต่างต้น ดอกเพศผู้เป็นช่อแยกแขนง ตามง่ามใบ สมมาตรตามรัศมี มีขนาดเล็กมาก ติดกันเป็นกระจุก ช่อดอก ยาว 3 - 6 เซนติเมตร ดอกสีเหลืองแกมเขียว เกสรเพศผู้ 5 – 10 อัน อับเรณูเปิดโดย รอยแยก ดอกเพศเมีย เกสรเพศเมีย 3 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ ภายในมี 3 ห้อง เชื่อมติดกันแต่ละห้องมีเม็ดไข่ 1 – 2 เม็ด ผล แบบผลแห้งแตก ขนาดเล็ก มี 3 พู รูปเกือบกลม ขนาด 0.2 - 0.3 X 0.3 - 0.4 เซนติเมตร ผลเกลี้ยง สีเขียวถึงน้ำตาลเข้ม