Powered By Blogger

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

พืชในป่าชายเลน-ฝาดดอกแดง

ฝาดดอกแดง

ชื่อพฤกษศาสตร์: Lumnitzera littorea
(Jack) Voigt
ชื่อพื้นเมือง: ฝาดดอกแดง
ชื่อท้องถิ่น: ฝาดดอกแดง
วงศ์ COMBRETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง 10 - 30 เมตร ราก ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายเข่า ลำต้น เปลือก มีรอยแตกเป็นร่องลึก สีน้ำตาล เปลือกในสีแดงเข้ม หรือ สีส้ม ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง หนาแน่นที่ปลายกิ่ง แผ่นใบหนา รูปรีแกมรูปไข่กลับ หรือ รูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ขนาด 1 - 3 X 3 - 9 เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหยักมน มีต่อมขนาดเล็ก ปลายใบกลม เว้าตื้น ก้านใบสั้น ใบสีเขียวเข้ม ดอก สมบูรณ์เพศ ออกปลายกิ่ง ช่อกระจะ แต่ละช่อยาว 2 - 5 เซนติเมตร มีดอก 5 - 15 ดอกฐานรองดอกเป็นหลอด ขนาด 0.4 X 0.8 - 1.2 เซนติเมตร แบนด้านข้าง ใต้ส่วนปลายคอดเล็กน้อย แล้วกว้างออกไปทางกลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่กว้าง สีเขียว ขอบกลีบมีขน มีใบประดับย่อย 2 ใบ ขนาดเล็ก กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน สีแดง แต่ละกลีบไม่ติดกัน เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวเป็น สองเท่าของกลีบดอก เกสรเพศเมีย มีรังไข่ใต้วงกลีบ 1 อัน ภายในมี 4 - 5 ห้อง เชื่อมรวมกันเป็นสันออกมา เท่าจำนวนกลีบเลี้ยง และเรียงตัวสลับกับตำแหน่งของกลีบเลี้ยง ก้านเกสรยาว มีเม็ดไข่ 2 - 5 เม็ด ผล รูปกระสวย ป่องตรงกลาง มีสันตามยาวเล็กน้อย ขนาดผล 0.4 X 1.3 - 2 เซนติเมตร ผลแก่สีน้ำตาลแดง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น