ปัญหา
พื้นที่ป่าชายเลนลดลงอย่างต่อเนื่องเกิดจากสาเหตุหลายประการร่วมกัน ที่สำคัญคือ
การ ขยายตัวของประชากร ทำให้มีการพัฒนากิจกรรมต่างๆ มากมาย ที่สำคัญคือ
การประมงและการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ โดยเฉพาะการทำนากุ้ง การทำเหมืองแร่
การเกษตรกรรม การขยายตัวของแหล่งชุมชน การสร้าง ท่าเทียบเรือ
การสร้างถนนและสายส่งไฟฟ้า การอุตสาหกรรมและโรงงานไฟฟ้า การขุดลอกร่องน้ำ การทำนา
เกลือ การตัดไม้เกินกำลังการผลิตของป่า และกิจกรรมอื่น
สาเหตุ
หลายกิจกรรมเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าชายเลนเป็นเพราะเห็นว่าการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชาย
เลน ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการประกอบการ
เพราะป่าชายเลนเป็นพื้นที่ป่าสงวนมีกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับไม่รัดกุม
ทำให้มีผู้บุกรุกจำนวนมาก และการจับกุมทำได้ไม่ทั่วถึง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้
สืบเนื่องมาจาก
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าชายเลนยังไม่เพียงพอและยังไม่ถูกต้องนักในกลุ่มบุคคลระดับต่างๆ
ทำให้ไม่ เห็นความสำคัญของป่าชายเลน
เป็นผลให้การใช้ประโยชน์ป่าชายเลนเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม
ผลกระทบ
การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลน
หลายประการ เช่น อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น ปริมาณธาตุอาหารลดลง ความเค็มเพิ่มขึ้น
น้ำขุ่นข้น มีปริมาณสารพิษ ในน้ำ เกิดการพังทลายของดิน มีการเปลี่ยนแปลงชนิด
ปริมาณและลักษณะโครงสร้างของพืชและสัตว์น้ำ ที่ สำคัญคือมีผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศในป่าชายเลนและระบบนิเวศอื่นในบริเวณชายฝั่งและ
ใกล้เคียงป่าชายเลน ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจและประชาชนและของประเทศโดยรวม
และยากที่จะ
ฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์เหมือนเดิมได้แม้จะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล
ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจากรมป่าไม้เมื่อปี 2543 แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลน 1,526,006.25 ไร่
เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อปี 2539 จำนวน 478,616.25 ไร่
ทั้งที่น่าสังเกตว่า
ในการสำรวจครั้งนี้ได้เพิ่มนราธิวาสเป็นจังหวัดที่ 24 ทีมีพื้นที่ป่าชายเลนด้วยจำนวน 473.5 ไร่
หลังจากที่ตกสำรวจมาเป็นเวลานาน
ขณะเดียวกันการสำรวจครั้งนี้กลับไม่แสดงพื้นที่ป่าชายเลนของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเคยมีจำนวน 1,857.50 ไร่
ในการสำรวจเมื่อปี 2539
โดยภาพรวมป่าชายเลนของไทยนับว่าตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม อันเป็นภาวะที่ต่อเนื่องมานับ 40 ปี
ดังที่ตัวเลขแสดงให้เห็นชัดเจนว่าภายในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่ป่าชายเลนได้สูญหายไปถึงประมาณ
1 ล้านไร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น